สล็อตเว็บตรงวอเล็ต

ผลการปฏิบัติงานที่ดี   Best Practice  การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน 1 อำเภอ 1 อาชีพ

หลักสูตรการทอผ้าไหมลายแหวนเพชร

ที่มาและความสำคัญของผลงาน

จากนโยบาย และจุดเน้นการดำเนินงานของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประจำปีงบประมาณ 2563 ด้านการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทําอย่างยั่งยืน โดยให้ความสําคัญกับการจัดการศึกษาอาชีพ  เพื่อการมีงานทําในกลุ่มอาชีพ  เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม คหกรรม และอาชีพเฉพาะทาง หรือการบริการที่สอดคล้องกับ ศักยภาพของผู้เรียนความต้องการ และศักยภาพของแต่ละพื้นที่ตลอดจน  สร้างความเข้มแข็งให้กับศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน

กศน.ตำบลประทัดบุได้ทำการสำรวจความต้องการของประชาชน บ้านภูมิกันดาร หมู่ที่ 5 ตำบลประทัดบุ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์  ซึ่งประชาชนมีความต้องการที่จะสืบทอดการทอผ้าไหมลายแหวนเพชร ซึ่งต้องการสืบทอดให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ และสร้างอาชีพให้เกิดขึ้นกับคนในชุมชน และรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป    

กศน.ตำบลประทัดบุ จึงส่งเสริมการเรียนการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน 1 อำเภอ 1 อาชีพ หลักสูตรการทอผ้าไหมลายแหวนเพชร มุ่งเน้นให้ผู้ที่สนใจ เมื่อศึกษาหลักสูตรนี้แล้วสามารถไปปฏิบัติจริง

 

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ว่างงานหรือมีอาชีพอยู่แล้ว และต้องการฝึกอาชีพ พัฒนาอาชีพ มีทักษะ ความรู้ ในการทอผ้าไหมลายแหวนเพชร เพื่อสร้างรายได้ และรักษาภูมิปัญญาให้คงอยู่ต่อไป

 

วิธีการดำเนินการ

          7.1 กำหนดกลุ่มเป้าหมาย

                   - ประชาชน บ้านภูมิกันดาร หมู่ที่ 5 ตำบลประทัดบุ อำเภอปราสาท  จังหวัดสุรินทร์ 

 

          7.2 การดำเนินการจัดกิจกรรม

                   7.2.1 ครู ประชาชน และชุมชนร่วมกันศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ โดยการจัดเวทีประชาคม จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ทำให้ทราบว่าชุมชนมีภูมิปัญญาที่มีความรู้ ความชำนาญด้านการทอผ้าไหมลายแหวนเพชร   

7.2.2 ครู ผู้เรียน และชุมชน ประชุมร่วมกันเพื่อวางแผนการดำเนินงาน ชี้แจงวัตถุประสงค์

ผลที่ผู้ร่วมกิจกรรมจะได้รับ ทำให้มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม เป็นประชาชนกลุ่มสตรี จำนวน 11 คน

        7.2.3 ศึกษาเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพในชุมชน จัดเตรียมสื่อ อุปกรณ์ และจัดทำหลักสูตร วางแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียน และวิทยากร

          7.2.4 จัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพ โดยจัดกิจกรรมตามแผนการเรียนการสอน และเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง และเกิดความชำนาญ

          7.2.5 กศน.ตำบลประทัดบุ ได้มีนิเทศติดตามการจัดการศึกษาต่อเนื่อง เพื่อติดตาม ประเมินผลการจัดกิจกรรม และครู กศน.ตำบล ได้มีการติดตามการดำเนินงาน โดยการใช้แบบติดตามผู้เรียน หลังจบหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง

          7.2.6 สรุปผลการดำเนินโครงการที่ได้จากการติดตามผู้เรียนหลังจบหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง เมื่อสิ้นสุดโครงการ นำเสนอผลการจัดกิจกรรม และจุดที่ควรพัฒนา รวมทั้งข้อเสนอแนะ และจัดทำรายงานเพื่อนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

          7.2.7 เผยแพร่ผลงานแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ โดยการนำเสนอผลงาน ในรูปแบบต่างๆ เช่น นำเสนอข้อมูลในศูนย์การเรียน นำเสนอผ่าน เว็บเพจ กศน.ตำบลประทัดบุ

 

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

ผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการทอผ้าไหมลายแหวนเพชร มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับการทอผ้าไหมลายแหวนเพชร เพื่อสร้างรายได้ และนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาอาชีพหรือปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ และรักษาภูมิปัญญาให้คงอยู่ต่อไป

 

การประเมินผลและเครื่องมือการประเมินผล

          ประเมินผลการทอผ้าไหมลายแหวนเพชร โดยวิทยากร และ ครู กศน.ตำบล ประเมินจากการปฏิบัติจริง ความชำนาญ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ และประเมินความรู้ ความเข้าใจจากการสอบถาม

 

ผลการดำเนินงาน

ผลที่เกิดกับตนเอง (กศน.ตำบลประทัดบุ)

               ๑. เกิดแนวคิดในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

          ผลที่เกิดกับผู้เรียน

               ๑. ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมที่จะพัฒนากระบวนการทอผ้าไหมลายแหวนเพชร

               ๒. ผู้เรียนได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทอผ้าไหมลายแหวนเพชรด้วยกันเองกับวิทยากรที่หลากหลาย

               ๓. ผู้เรียนได้รับการสนับสนุนพัฒนาด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

               ๔. ผู้เรียนได้แสดงออกถึงศักยภาพ สามารถลงมือปฏิบัติ และนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อก่อรายได้เสริมภายในครอบครัว

               ๕. ผู้เรียนได้ตระหนัก และเห็นความสำคัญในคุณค่า คุณประโยชน์จากการฝึกอบรม หลักสูตรการทอผ้าไหมลายแหวนเพชรด้วย  และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาตนเอง ครอบครัวและชุมชน ส่งผลต่อ ความเชื่อมั่น ศรัทธา และนำไปปฏิบัติพัฒนาตนเองจนเป็นนิสัย

         ผลที่เกิดกับสังคม

               ๑. สังคมมีแหล่งเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น

 

       

          

   

รายละเอียดเพิ่มเติม https://drive.google.com/drive/my-drive